ทำไมคนเราต้องดื่มน้ำด้วยล่ะ?

น้ำเป็นสัดส่วนหลักของชีวิตคนเรา – ในร่างกายคนวัยผู้ใหญ่จะประกอบด้วยน้ำราว 50-60 เปอร์เซ็นต์

น้ำเป็นพาหนะสำคัญต่อระบบอวัยวะในร่างกายของเรา มันช่วยให้โลหิตไหลเวียน ปรับความสมดุลของร่างกาย ช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย โดยขับความร้อนออกมาเป็นเหงื่อ และช่วยขับสารพิษในร่างกายของเราทางปัสสาวะ มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ทำและน้ำหนักของแต่ละบุคคล

ร่างกายของเราต้องการน้ำวันละสองถึงสามลิตร และมันจะถูกขับออกทางผิวหนัง ทางลมหายใจ การปัสสาวะ และการขับถ่าย ดังนั้นความสมดุลของน้ำในร่างกายของเราจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราบริโภคน้ำทุกวันในปริมาณที่ร่างกายของเราต้องการใช้เพื่อขับเคลื่อนระบบและขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย

น้ำส่วนหนึ่งเราได้รับจากการบริโภคอาหาร แต่เรายังต้องดื่มน้ำอย่างเพียงพอด้วย สำหรับคนวัยผู้ใหญ่อยู่ที่ประมาณ 1.5-2 ลิตรต่อวัน

ควรดื่มก่อนรู้สึกกระหาย

เมื่อใดก็ตามที่เราดื่มน้ำน้อยเกินไป ระบบการทำงานของร่างกายจะกระตุ้นให้เกิดภาวะ ‘กระหายน้ำ’ อย่างที่เรารู้จักกัน แต่สิ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ก็คือ ใครที่รู้สึกกระหายน้ำ นั่นหมายความว่าคนนั้นมีภาวะขาดน้ำแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย ทางที่ดีแล้วเราควรดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อไม่ให้เกิดภาวะกระหายน้ำ

ทำไมคนเราต้องดื่มน้ำ?

จะเกิดอะไรขึ้นบ้างเมื่อเราดื่มน้ำน้อยเกินไป     

การขาดน้ำหรือของเหลว จะก่อให้เกิดผลลัพธ์ต่างๆ ต่อร่างกาย…

  • เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ปกติ
  • เซลล์กล้ามเนื้อและเซลล์สมองทำงานผิดปกติ
  • สมาธิและความสามารถค่อยๆ ลดลง
  • เยื่อเมือกแห้ง ซึ่งจะเพิ่มความไวต่อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย

เมื่อร่างกายขาดน้ำ การทำงานของระบบอวัยวะต่างๆ จะติดขัด อาจมีส่วนทำให้เป็นโรคข้ออักเสบได้ เนื่องจากขาดน้ำที่จะไปช่วยกำจัดกรดยูริกออกมาทางปัสสาวะ และเมื่อกรดยูริกสะสมอยู่ในเลือดมากเกินไป ก็จะเป็นสาเหตุทำให้ข้ออักเสบ หรือเป็นโรคเก๊าต์ หรือหากร่างกายขาดน้ำติดต่อกัน 3 วัน ก็อาจทำให้เราเสียชีวิตได้

ทำไมคนเราต้องดื่มน้ำ?

ปริมาณน้ำที่ควรดื่มในแต่ละวัน

หลายคนอาจจะเคยได้ยินเกี่ยวกับทฤษฎีการดื่มน้ำ ‘8×8’ (มาจากน้ำ 8 แก้ว แก้วละ 8 ออนซ์) ที่เคยถูกนำมาใช้เป็นแนวทางตั้งแต่การลดน้ำหนัก การทำให้ผิวเปล่งปลั่ง ไปจนถึงการช่วยขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย

คณะกรรมการอาหารและสารอาหารแห่งสหรัฐอเมริกา (US Food and Nutrition Board) ซึ่งเป็นองค์กรในสังกัดสถาบันการแพทย์ ได้เผยแพร่แนวทางการปฏิบัติเรื่องอาหารที่ดี และแนะนำให้ดื่มน้ำเท่ากับที่คำนวณว่า ร่างกายใช้ในการสลายอาหารให้เป็นโมเลกุลเล็กลง จนเป็นที่มาของทฤษฎี 8×8 ดังกล่าว

ต่อมาสภาวิจัยแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาได้เปลี่ยนแปลงเป็น 2.7 ลิตรต่อวันสำหรับผู้หญิง และ 3.7 ลิตรต่อวันสำหรับผู้ชาย หรือแปลงเป็นขนาดแก้วน้ำจุ 8 ออนซ์ (240 ซีซี) ได้เท่ากับ 11 แก้วสำหรับผู้หญิง และ 15 แก้วสำหรับผู้ชาย

นอกจากนั้นยังอ้างอิงถึงกิจกรรมที่ทำ อุณหภูมิและความชื้นของอากาศรอบตัว ตลอดจนอาหารที่รับประทานในวันนั้นๆ

ทำไมคนเราต้องดื่มน้ำ?

น้ำแบบไหนควรดื่ม และไม่ควรดื่ม

ในหนังสือ ‘น้ำดื่มในอุดมคติ’ (Water for Life) เขียนโดย ศ.ดร.นพ.สมศักดิ์ วรคามิน กล่าวไว้ว่า เลือดของคนเรามีค่าความเป็นกรดด่าง (pH) เท่ากับ 7.4 ซึ่งถือว่าเป็นด่างอ่อนๆ หากค่า pH ของเลือดต่ำลงกว่านี้ จะเริ่มเกิดภาวะกรดเป็นพิษในเลือด (Acidosis) และหากของใครต่ำกว่า 7.0 คนนั้นจะหมดสติ และอาจตายได้ หากไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที

กิจกรรมของคนเราเองก็มีส่วนทำให้เกิดกรดในร่างกายได้ง่าย เมื่อร่างกายเผาผลาญอาหาร จะได้ของเสียที่มีฤทธิ์เป็นกรด และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่จะละลายในเลือด เพื่อที่จะขับออกมาทางปอด ซึ่งคาร์บอนไดออกไซด์มีผลทำให้เลือดมีความเป็นด่างน้อยลง เลือดจึงต้องการด่างเพื่อให้เกิดสมดุล ดังนั้นเราจึงควรดื่มน้ำและรับประทานอาหารที่มีฤทธิ์เป็นด่าง เพื่อปรับสมดุล pH ในเลือด

น้ำดื่มที่มีฤทธิ์เป็นด่างดังกล่าวคือ น้ำที่มีแร่ธาตุต่างๆ หรือ ‘น้ำแร่’ นั่นเอง ส่วนน้ำอัดลมนั้นมีฤทธิ์เป็นกรด บางชนิดมีค่า pH ต่ำเพียง 2.5 ซึ่งถือว่ามีความเป็นกรดสูงมาก หากดื่มน้ำที่มีค่า pH สูงถึง 8.5 จึงจะถ่วงดุลกับน้ำอัดลม ทำให้ค่า pH ของเลือดกลับมาอยู่ที่ 7.4 ได้เป็นปกติ

อย่างไรก็ดี หากเราเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลมเสียแล้ว การดื่มน้ำสะอาดที่ปราศจากสารพิษเจือปน และดื่มให้เพียงพอในแต่ละวัน ก็ให้แร่ธาตุแก่ร่างกายได้ส่วนหนึ่ง นอกเหนือจากนั้นเรายังจะได้รับจากอาหารในแต่ละมื้อที่เรารับประทานประจำอยู่แล้ว

ทำไมคนเราต้องดื่มน้ำ?

 

น้ำ ในทางชีวภาพและสังคมโลก

 

เป็นของเหลวที่โปร่งใส ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น และไม่มีสี ซี่งเป็นสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบหลักของลำธาร แม่น้ำ และมหาสมุทรในโลก และยังเป็นของเหลวในสิ่งมีชีวิต

สูตรทางเคมีของน้ำ คือ H2O โมเลกุลของน้ำประกอบด้วยออกซิเจน 1 อะตอม และไฮโดรเจน 2 อะตอม เชื่อมติดกันด้วยพันธะโควาเลนต์ (Covalent Bonds) น้ำเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน แต่พบบนโลกที่สถานะของแข็ง (น้ำแข็ง) และสถานะแก๊ส (ไอน้ำ) น้ำยังมีในสถานะของผลึกของเหลวที่บริเวณพื้นผิวที่ขอบน้ำ นอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น หิมะ ธารน้ำแข็ง ภูเขาน้ำแข็ง ก้อนเมฆ หมอก น้ำค้าง ชั้นหินอุ้มน้ำ และความชื้นในบรรยากาศ

น้ำปกคลุม 71 เปอร์เซ็นต์บนพื้นผิวโลก และเป็นปัจจัยสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต น้ำบนโลก 96.5 เปอร์เซ็นต์พบในมหาสมุทร 1.7 เปอร์เซ็นต์ในน้ำใต้ดิน 1.7 เปอร์เซ็นต์ในธารน้ำแข็งและชั้นน้ำแข็งของทวีปแอนตาร์กติกา และเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นเศษส่วนเล็กน้อยบนผิวน้ำขนาดใหญ่ และ 0.001 เปอร์เซ็นต์พบในอากาศในรูปของไอน้ำ ก้อนเมฆ (ที่ก่อตัวขึ้นจากอนุภาคน้ำในสถานะของแข็งและของเหลวแขวนลอยอยู่บนอากาศ) และหยาดน้ำฟ้า

น้ำบนโลกเพียง 2.5 เปอร์เซ็นต์เป็นน้ำจืด และ 98.8 เปอร์เซ็นต์ของน้ำจำนวนนั้นพบในน้ำแข็งและน้ำใต้ดิน น้ำจืดน้อยกว่า 0.3 เปอร์เซ็นต์พบในแม่น้ำ ทะเลสาบ และชั้นบรรยากาศ และน้ำจืดบนโลกในปริมาณที่เล็กลงไปอีก คือ 0.003 เปอร์เซ็นต์พบในร่างกายของสิ่งมีชีวิตและผลิตภัณฑ์

ทำไมคนเราต้องดื่มน้ำ?

น้ำบนโลกเคลื่อนที่ต่อเนื่องตามวัฏจักรของการระเหยเป็นไอและการคายระเหย การควบแน่น การตกตะกอน และการไหลผ่าน โดยปกติจะไปถึงทะเล การระเหยและการคายระเหยน้ำนำมาซึ่งการตกตะกอนลงสู่พื้นดิน

น้ำดื่มสะอาด เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ แม้ว่าน้ำจะไม่มีแคลอรีหรือสารอาหารที่เป็นสารประกอบอินทรีย์ใดๆ การเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดได้เปลี่ยนแปลงไปในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาในแทบทุกภูมิภาคของโลก แต่ประชากรประมาณ 1 พันล้านคนยังคงขาดแคลนน้ำดื่มสะอาด และกว่า 2.5 พันล้านคนขาดแคลนสุขอนามัยที่ดี

จากรายงานขององค์การอนามัยโลกเมื่อปี 2009 ระบุว่า ภายในปี 2030 ในพื้นที่ประเทศที่กำลังพัฒนาจะมีความต้องการน้ำเพิ่มขึ้นเกินปริมาณน้ำที่มีอยู่กว่า 50 เปอร์เซ็นต์ และภายในปี 2025 ประชากรโลกมากกว่าครึ่งหนึ่งจะประสบปัญหาความเสี่ยงที่เกี่ยวกับน้ำ